ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ พันธกร พวงเดช

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การรักษากลไกดุลยภาพ

การรักษากลไกดุลยภาพ

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัฟเฟอริง (buffering) ระบบบัฟเฟอร์ (บัฟเฟอร์คือสารละลายกรดอ่อนหรือด่างอ่อนซึ่งสามารถลดการเปลี่ยนแปลงของ pH ในภาวะที่ได้รับกรดหรือด่างได้ ทำให้ pH เปลี่ยนแปลงไม่มาก เหมือนกับที่พบในการเติมกรดหรือด่างลงไปในน้ำเปล่า) จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด – ด่างของร่างกายไม่ให้รวดเร็วเกินไปกรด – เบส บัฟเฟอร์ ประกอบด้วยกรดอ่อนและด่างอ่อน เป็นคู่ๆ ซึ่งจะ แตกตัว(Ionized) ได้เกลือของกรด หรือด่างอย่างเดียวกัน ทำให้กรดแก่ หรือ ด่างแก่เจือจางลง


การลำเลียงสารเข้าออกจากเซลล์

การลำเลียงสารเข้าออกจากเซลล์

การแพร่ของสารเข้าสู้เซลล์ สารนั้นต้องมีโมเลกุลขนาดเล็ก โดยผ่านเข้าทางชั้นฟอสโฟลิพิดเท่านั้น เป็นการเคลื่อนที่ของอนุภาคสารจากบริเวณสารที่มีความเข้มข้นสูง คือ มีอนุภาคสารนั้นเป็นจำนวนมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำกว่า อนุภาคของสาจะกระจายไปจนบริเวณนั้นมีความเข้มข้นของสารนั้นเท่ากันหมด จนถึงจุดสมดุลของการแพร่ แต่อนุภาคก็ไม่หยุดนิ่ง ยังมีการเคลื่อนที่เพราะอนุภาคมีพลังงานจลน์
การออสโมซิส
    ร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีน้ำร้อยละ 65-70 น้ำจึงมีความสำคัญต่อการดำลงชีวิต น้ำสามารถแพร่เข้าและออกจากเซลล์ได้ทางเยื่อหุ้มเซลล์ เซลล์จึงมีกลไกในการควบคุมการแพร่ของน้ำที่เข้าหรือออกจากเซลล์การแพร่เข้าหรือออกของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เป็นการแพร่ของอนุภาคน้ำจากบริเวณที่มีอนุภาคของน้ำมากหรือบริเวณที่สารละลายมีความเข้มข้นน้อยกว่าไปสู่บริเวณที่มีอนุภาคของน้ำน้อย หรือบริเวณที่สารละลายมีความเข้มข้นมากกว่า ปรากฏการณ์แบบนี้เรียกว่า  ออสโมซิส(osmosis)

เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์

เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์

1. นิวเคลียส

                    เป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญที่สุดของเซลล์ เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรมส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปกลมหรือรูปไข่ เซลล์ทั่วไปจะมีหนึ่งนิวเคลียส แต่สัตว์ชั้นต่ำบางชนิดจะมีสองนิวเคลียส เซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเมื่อเจริญเต็มที่ จะไม่มีนิวเคลียส  นิวเคลียสประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

                              1.1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส : เป็นเยื่อหุ้ม 2 ชั้นที่ห่อหุ้มนิวเคลียสไว้ มีลักษณะเป็นเยื่อหุ้มที่มีรูพรุน ( nuclear pore) สำหรับใช้เป็นทางเข้าออกของสารเคมีภายในนิวเคลียสกับไซโทพลาสซึม เซลล์ทั่ว ๆ ไปจะมีนิวเคลียส 1 อัน ยกเว้นเซลล์ของกล้ามเนื้อลายจะมีนิวเคลียสหลายอัน เซลล์เม็ดเลือดแดงไม่มีนิวเคลียส

                              1.2. นิวคลีโอพลาสซึม : เป็นส่วนที่อยู่ภายในนิวเคลียสประกอบไปด้วย น้ำ ไอออน เอนไซม์ กรดนิวคลีอิก ( DNA และ RNA) โปรตีน และ โครโมโซมซึ่งในสภาวะปกติโครโมโซมจะมีลักษณะเป็นเส้นใยขนาดเล็กเป็นร่างแหคล้ายเส้นด้ายเรียกว่า       โครมาติน (chromatin) กระจายอยู่ทั่วนิวเคลียส บนโครมาตินจะประกอบไปด้วยยีน คือ DNA รวมกับโปรตีนฮิสโตน ยีนจะเป็นตัวกำหนดลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในระยะที่เซลล์มีการแบ่งตัวโครมาตินจะหดตัวสั้นลงเป็นแท่งมีแขน 2 แขน เรียกว่า โครโมโซม (chromosome)

                              1.3. นิวคลีโอลัส (Nucleolus) : เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้น เป็นกลุ่มของเส้นใยที่ขดเป็นก้อนกลมฝังตัวอยู่ในเนื้อนิวเคลียส (ในนิวคลีโอพลาสซึม) มีรูปร่างไม่แน่นอน ไม่มีเยื่อหุ้ม ภายในประกอบไปด้วย RNA และ โปรตีนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ในขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัวนิวคลีโอลัสจะหายไป
2. ออร์แกเนลล์ 

                         ออร์แกเนลล์ (organelle) คือ โครงสร้างย่อยที่มีขนาดเล็กอยู่ภายในเซลล์และมีหน้าที่เฉพาะ ออร์แกเนลล์ (organelle) มักอยู่ภายในไซโตซอล (cytosol) หรือ อยู่ติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) และ มักอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane)ของเซลล์ ออร์แกเนลล์ (organelle) สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และสามารถแยกให้บริสุทธิ์ได้โดยวิธีการกระบวนการปั่นแยกส่วนของเซลล์ (cell fractionation)